“กรมศิลปากร” ยกสถานที่ 5 แห่งของการรถไฟฯ ขึ้นเป็น “โบราณสถาน”

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.66 ได้เผยแพร่ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 ซึ่งประกาศดังกล่าวมีสถานที่ของ รฟทคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต. ได้รับการประกาศขึ้นเป็นโบราณสถาน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1. สถานีรถไฟจิตรลดา เป็นสถานีที่สร้างขึ้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ในการเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟ และเป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวนจิตรลดา ถนนสวรรคโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

2. สะพานพระราม 6 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นสะพานสำคัญที่สุดในเส้นทางสายใต้ เชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟสายใต้ 3. ตึกแดง (ตึกพัสดุ รฟท.) เป็นชื่อเรียกของ อาคารพัสดุยศเส ตั้งอยู่ติดกับสะพานยศเส ริมคลองผดุงกรุงเกษม สันนิษฐานว่าก่อสร้างขึ้นในปี 2553 ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสร้างอาคารสถานีกรุงเทพ สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บพัสดุจากการสร้างอุโมงค์ขุนตาน และการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ทำงานของฝ่าย และสำนักงานของการรถไฟฯ

4. สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จ และเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ 5. โรงงานมักกะสัน การรถไฟฯ ก่อสร้างเมื่อปี 2450 แล้วเสร็จเปิดกิจการในปี 2453 ในอดีตเคยเป็นโรงงานซ่อมรถไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน และที่นี่เคยมีโรงผลิตไฟฟ้า ที่สามารถจ่ายไฟให้โรงไฟฟ้า ชุมชน และโรงพยาบาลรถไฟ เป็นโรงงานแห่งเดียวของกรมรถไฟ ที่สามารถทำการซ่อม และประกอบรถจักรและรถพ่วงทุกชนิดได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ภายในโรงงานมักกะสัน มีอาคาร 2465 อาคารเก่าแก่ที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น เป็นอาคารดั้งเดิมที่เราใช้ในการซ่อมรถด้วย

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า การได้รับการประกาศให้สถานที่ 5 แห่งของ รฟท. ขึ้นเป็นโบราณสถาน สร้างความภาคภูมิใจให้กับคณะผู้บริหาร และพนักงาน รฟท. ทุกคนเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. มีนโยบายเน้นย้ำเสมอ ให้พนักงานรถไฟทุกคนร่วมกันดูแล อนุรักษ์ พัฒนา ทำความสะอาดสถานที่เหล่านี้อยู่เสมอ โดยพนักงานทุกคนต่างให้ความร่วมมือปฏิบัติงานกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้สถานที่ทุกแห่งยังคงเป็นสถานที่ที่มีความสวยงาม ทรงคุณค่า เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้ร่วมร่วมอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ และเห็นถึงความสำคัญ เกิดประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติ และเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับโลกต่อไป

นายเอกรัช กล่าวอีกว่า ปัจจุบันทั้ง 5 สถานที่ของ รฟท. ยังคงมีการใช้งานตามปกติ บางแห่ง อาทิ โรงงานมักกะสัน และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว ได้เข้าชม เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนั้นๆ รวมถึงระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทยด้วย ซึ่งที่ผ่านมา การจัดกิจกรรมค่อนข้างประสบความสำเร็จอย่างดีมีประชาชน และนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เห็นได้จากงาน Hua Lamphong in Your Eyes, UNFOLDING BANGKOK ที่เนรมิตอาคารสถานีหัวลำโพง ซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์มีอายุยาวนานกว่า 107 ปี มาเล่าเรื่องราวย้อนรอยอดีตในรูปแบบใหม่ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง มีผู้เข้าร่วมชมสูงสุดกว่า 3 หมื่นคนต่อวัน

นายเอกรัช กล่าวด้วยว่า รฟท. มีนโยบายเปิดพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) สำหรับจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณค่าของสถานีหัวลำโพง สร้างประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง และเป็นแลนด์มาร์คจัดกิจกรรมที่สำคัญของประเทศ โดยขณะนี้มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน แสดงความสนใจติดต่อขอใช้พื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ เข้ามาจำนวนมาก ซึ่ง รฟท. อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะคัดเลือกกิจกรรมที่มีศีลธรรมอันดี ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี และไม่กระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอาคารเดิม หรือคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในทุกแง่มุม รวมทั้งไม่ให้กระทบกับการเดินทางของผู้โดยสาร เพื่อให้เป็นกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติต่อไป.