น.ส.ปุยฝ้าย คุณาวัฒน์ ประธานจัดงาน จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ได้จัดงานสถาปนิก’66 ภายใต้แนวคิด “ตำถาด: Time of Togetherness” ขึ้นเป็นครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 25-30 เมษายน2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อนำเสนอผลงานความก้าวหน้าทางสถาปัตยกรรม สร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทวิชาชีพสถาปนิกที่มีต่อสังคม ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมมากมาย รวมผู้ประกอบการไทย และต่างชาติกว่า 800 บริษัท โดยความพิเศษของงาน คือ มีการรวมตัวกันของ 5 องค์กรวิชาชีพ คือ สมาคมสถาปนิกฯ, สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย, สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย, สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และสภาสถาปนิก ซึ่งพื้นที่จัดงานในแต่ละสมาคมฯ จะมีไฮไลต์ที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไป
นายศุภแมน มรรคา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ออแกไนเซอร์จัดงานสถาปนิก’66 กล่าวว่า สำหรับงานสถาปนิก’66 ปีนี้จัดบนพื้นที่ 75,000 ตารางเมตร โดยมีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการด้านการออกแบบและก่อสร้างจากภายในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 800 บริษัท ที่สำคัญคือได้รับความสนใจจากต่างชาติเข้าร่วมแสดงสินค้ามากขึ้น 7 เท่า หรือเพิ่มขึ้น 21.33% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นผู้ประกอบการจากออสเตรเลีย จีน ฟินแลนด์ ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ทางด้านผู้จัดแสดงสินค้าในประเทศไทยก็ได้เตรียมเปิดตัวนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ภายในงานด้วยเช่นกัน อาทิ แบรนด์ SCG, TOA, VG, MAKITA, JORAKAY, TOSTEM, GREENLAM, DOS, ADVANCED MATERIAL และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงกิจกรรมไฮไลต์ตลอดทั้ง 6 วัน อาทิ
Thematic Pavilionพื้นที่จัดแสดงรูปแบบพิเศษที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักออกแบบและซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้างเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำได้มากกว่าที่คิดโดยปีนี้มีทั้งหมด4พื้นที่ได้แก่1คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. VGและTOAทำงานร่วมกับนักออกแบบจากHypothesis 2. WOODDENทำงานร่วมกับPAVA architects 3คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. EMPOWER STEELทำงานร่วมกับACa Architectsและ4. THAIKOON STEELและTHAI PREMIUM PIPEทำงานร่วมกับContext Studioซึ่งทั้ง4บูธนี้จะยกระดับการจัดงานในมิติของการสร้างสรรค์และงานดีไซน์ให้ทัดเทียมกับงานในต่างประเทศ
BIMobject Live Thailand 2023 งานสัมมนาอัปเดตเทรนด์ด้าน Digital Construction ที่จะนำวงการก่อสร้างมุ่งสู่ Net Zero ด้วยเครื่องมือสุดล้ำจาก BIM และ AI พร้อมร่วมเจาะลึกกระบวนการออกเเบบและก่อสร้าง “สินธร วิลเลจ” โครงการต้นแบบ Mixed Use ของประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ดำเนินโครงการภายใต้หลักเศรษฐกิจสังคมเเละสิ่งเเวดล้อม และกิจกรรมแลกเปลี่ยนไอเดียกับนักออกแบบ คาดว่าจะมียอดผู้เข้าชมงานในปีนี้มากถึง300,000 คน และคาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดหลังจากจบงานกว่า 23,000 ล้านบาท