โรงเรียนไต้หวันเตรียมเริ่มให้สิทธินักเรียน “ลารักษาสุขภาพจิต”
โรงเรียนมัธยมปลายหลายแห่งในไต้หวันจะเริ่มให้สิทธิ “การลาเพื่อสุขภาพจิต” แก่นักเรียนในเดือน มี.ค. นี้ เพื่อจัดการกับอัตราการฆ่าตัวตายของเยาวชนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระดับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในระดับสูง
ภายใต้โครงการนี้ นักเรียนมัธยมปลายสามารถยื่นเรื่องขอหยุดเรียนได้สูงสุด 3 วันในแต่ละภาคการศึกษา สามารถลาเต็มวันหรือครึ่งวันก็ได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานแสดงความจำเป็น แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง
ชายกิน “บิ๊กแมค” มากที่สุดในโลก 50 กว่าปีกินไปเกิน 34,000 ชิ้น!
เรือรบอิตาลีถูกบีบให้ยิงขีปนาวุธฮูตีตก กลุ่มติดอาวุธลั่นพร้อมเอาคืน
มาเลเซียชี้ค้นหา MH370 ต้องเดินหน้าต่อ หลังหายสาบสูญนาน 10 ปี
กระทรวงศึกษาธิการไต้หวันระบุว่า ขณะนี้ มีโรงเรียนมากกว่า 40 แห่งแสดงความสนใจทดลองใช้โครงการนี้ ซึ่งมีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตในหมู่คนหนุ่มสาวในไต้หวัน
ระหว่างปี 2014-2022 อัตราการฆ่าตัวตายในประชากรไต้หวันอายุ 15-24 ปี เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า แม้ว่าอัตราโดยรวมจะลดลงก็ตาม
ทางการไต้หวันถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการตอบสนองต่อวิกฤตดังกล่าว โดยมีเสียงร้องเรียนว่า แรงกดดันและการแข่งขันทางวิชาการอย่างรุนแรงของนักเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
ในปี 2022 เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการไต้หวันถูกกลุ่มสนับสนุนเยาวชนวิพากษ์วิจารณ์ หลังจากไปเชื่อมโยงการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นกับ “จำนวนอาคารสูงที่เพิ่มขึ้นในไต้หวัน” ทั้งที่น่าจะเป็นผลจากภาคการศึกษามากกว่า
ในปีเดียวกัน มูลนิธิสันนิบาตสวัสดิการเด็กได้ทำการสำรวจนักเรียน โดยพบว่ามากกว่า 12% รายงานว่ามีความเครียดในระดับ “รุนแรง” และในนักเรียนมัธยมปลายจะแย่กว่ามัธยมต้นถึง 2 เท่า
ขณะที่นักเรียนมัธยมปลายเกือบ 1 ใน 4 กล่าวว่า พวกเขาประสบภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง การสำรวจระบุว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด 3 อันดับแรกจากการสำรวจ ได้แก่ การบ้าน (77%) ความคาดหวังในอนาคต (67%) และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (43%)
นักเรียนมัธยมปลายหญิงคนหนึ่งบอกว่า “หนูสามารถสอบติด 3 อันดับแรกในชั้นเรียนในโรงเรียนมัธยมต้นได้อย่างง่ายดาย แต่ตอนนี้เกรดของหนูไม่ดีเท่าที่ควร … สิ่งนี้ทำให้หนูกังวลมาก และเริ่มกังวลว่าฉันจะสามารถเข้ามหาวิทยาลัยหรืออะไรทำนองนั้นได้หรือไม่”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นักเรียนหญิงกล่าวว่า ครูของเธอได้พูดคุยเรื่องการลาเพื่อรักษาสุขภาพจิตกับชั้นเรียนแล้ว แต่เธอไม่คิดว่าเพื่อน ๆ จะสนใจเรื่องนี้ “ฉันไม่คิดว่าเราจะสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์หรือจิตใจได้ด้วยการหยุดเรียน มันเป็นเพียงการหลบหนีเท่านั้น”
เธอเสริมว่า “จะไม่มีใครลาแบบนี้ … และแม้ว่าพวกเขาจะทำ พวกเขาก็จะอยู่บ้านและอ่านหนังสือเท่านั้น หนูคิดว่าผู้ปกครองจำนวนมากจะต่อต้านนโยบายนี้ พวกเขาไม่ใช่นักเรียนมัธยมปลาย ดังนั้นพวกเขาจึงไม่รู้ว่าเราอยู่ภายใต้ความกดดันมากแค่ไหน”
ด้าน เซียว ฉือเสียน นักจิตวิทยาจากหน่วยให้คำปรึกษาและสุขภาพมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นแห่งชาติ กล่าวว่า สิทธิวันลาถือเป็นก้าวที่ดีในทิศทางที่ถูกต้อง
“การลาเพื่อรักษาสุขภาพจิตมีประสิทธิผลในระดับหนึ่ง ช่วยให้นักเรียนบรรเทาความเครียดเร่งด่วนได้ในขณะนั้น และมีเวลาพักเพียงพอในการย่อยและรับมือกับอาการไม่สบายของพวกเขา” เซียวกล่าว
เซียวแนะนำว่า โครงการนี้สามารถช่วยปรับปรุงทัศนคติทางสังคมต่อความเจ็บป่วยทางจิตใจได้ “หากพบเห็นความไม่สบายทางจิตใจ นักเรียนจะมีความกล้าหาญมากขึ้นในการขอความช่วยเหลือ”
ในปี 2018 ผลสำรวจพบว่าผู้คนในไต้หวันมากกว่า 53% คิดว่าความเจ็บป่วยทางจิตใจเป็นเรื่องที่ถูกตีตราในสังคม และมักถูกมองว่าเป็นเพียงข้ออ้าง
นักเรียนชายวัย 18 ปีคนหนึ่งกล่าวว่า เขาเชื่อว่าแนวคิดที่ฝังรากลึกเช่นนี้จะทำให้คนหนุ่มสาวจำนวนมากไม่กล้าใช้วันลาเพื่อรักษาสุขภาพ เนื่องจาก “กลัวว่าเพื่อนร่วมชั้นจะปฏิบัติต่อพวกเขาว่าป่วยทางจิต”
ก่อนหน้าที่จะมีการนำมาใช้ในโรงเรียนมัธยมปลาย เคยมีโครงการนำร่องแล้วในมหาวิทยาลัยในไต้หวันหลายสิบแห่ง โดยเสนอสิทธิลาเพื่อรักษาสุขภาพจิตได้สูงสุด 5 วันต่อภาคการศึกษา
สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ระบุว่า มียื่นขอลาเพื่อรักษาสุขภาพจิต 1,686 รายในภาคการศึกษาที่แล้ว หรือคิดเป็น 5% ของนักศึกษาทั้งหมดในเกาะ
โฆษกสมาพันธ์ฯ กล่าวว่า “เนื่องจากมีหลายวันในแต่ละภาคเรียนที่นักเรียนสามารถลาได้โดยไม่ต้องใช้เอกสารประกอบ จึงเป็นประโยชน์และมีความยืดหยุ่นมากสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนได้เนื่องจากปัญหาทางจิตใจ”
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาเกิดขึ้นกับโครงการนี้อยู่ รวมถึงอาจารย์บางคนที่หักคะแนนนักศึกษาที่ใช้สิทธิลาเพื่อรักษาสุขภาพจิต
แนวปฏิบัติของรัฐบาลสำหรับโครงการนี้แนะนำให้มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ของนักศึกษามากขึ้น และทำให้แน่ใจว่ามีการให้คำปรึกษาและบริการอื่น ๆ ควบคู่ไปกับสิทธิการลา
เอกสารแนวปฏิบัติระบุว่า “ครูทุกคน (รวมถึงอาจารย์ผู้สอนและหัวหน้างาน) ที่ปรึกษามืออาชีพ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหน่วยการสอนและการบริหาร ควรใส่ใจต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน และไม่ควรก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือตีตราเนื่องจากการใช้การลาเพื่อการปรับตัวทางร่างกายและจิตใจ”
เรียบเรียงจาก The Guardian
ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนซิตี้ แซงชนะ แมนยู 3-1 โฟเด้น เบิ้ล
“โยเกิร์ต” มูฟออน! ลบเกลี้ยงทุกอย่างเกี่ยว “พีเค” ด้านนางแบบเวียดนามเคลื่อนไหว หลังถูกเอี่ยวดราม่า
กยศ.คืนเงินลูกหนี้ 3,494 ราย 97 ล้านบาท หลังใช้เกณฑ์คำนวณหนี้ใหม่