นายพลนาโตเตือนชาติพันธมิตร กระสุนใกล้หมดคลังแสง
พลเรือเอก ร็อบ บาวเออร์ ประธานคณะกรรมการด้านการทหารของกลุ่มพันธมิตรนาโต (NATO) ระบุว่า ปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณว่า เครื่องกระสุนของชาติพันธมิตรกำลังจะหมดลง ดังนั้นรัฐบาลต่าง ๆ และผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องยกระดับกำลังการผลิตให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีกมาก
พลเรือเอกบาวเออร์บอกว่า ในแต่ละวันยูเครนใช้กระสุนปืนใหญ่วันละหลายพันนัด ส่วนใหญ่มาจากชาติพันธมิตรนาโต แต่การลงทุนในด้านการผลิตอาวุธที่ต่ำเกินไปตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้คลังเครื่องกระสุนของหลายชาติสมาชิกเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่ง หรือแม้กระทั่งไม่เหลือเลย
รถบัสตกสะพานใกล้เมืองเวนิส เสียชีวิตอย่างน้อย 21 คน
สื่อนอกรายงานเหตุ เด็ก 14 ปี ก่อเหตุยิงกลางพารากอน!
ยูเครนเล็งสร้างโรงเรียนใต้ดิน ปกป้องนักเรียนจากขีปนาวุธรัสเซีย
โดยพลเรือเอกบาวเออร์ระบุว่า รูปแบบการผลิตในปัจจุบันที่ยึดหลัก Just In Time หรือการผลิตเพียงเพื่อให้ทันความต้องการใช้งาน โดยไม่มีการผลิตสินค้าสำรองไว้ไม่เหมาะต่อความต้องการด้านการทหารในขณะนี้ที่สงครามยังคงดำเนินต่อไป
เช่นเดียวกับ นาย เจมส์ ฮีปปีย์ (James Heappey) รัฐมนตรีงว่าการกระทรวงเหล่าทัพอังกฤษ ที่ระบุว่าคลังอาวุธของหลายประเทศสมาชิกนาโตเริ่มมีปริมาณเหลือน้อย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเพิ่มสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายด้านการทหารต่อ GDP ให้ได้อย่างน้อย 2 เปอร์เซนต์ ตามที่เคยสัญญาไว้
ก่อนหน้านี้ นาย อาร์มิน แพพเพอร์เกอร์ (Armin Papperger) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท “ไรน์เมทัล” (Rheinmetall) ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่สัญชาติเยอรมนีประเมินว่ายูเครนมีความต้องการใช้กระสุนปืนใหญ่ปีละ 1.5 ล้านนัด
โดยกระทรวงกลาโหมอังกฤษเปิดเผยว่านับตั้งแต่เกิดสงครามเมื่อเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ได้ส่งกระสุนปืนใหญ่ไปช่วยยูเครนประมาณ 300,000 นัด และสัญญาว่าจะส่งกระสุนปืนใหญ่อีกหลายหมื่นนัดให้ยูเครนในช่วงที่เหลือของปีนี้
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ส่งกระสุนปืนใหญ่ช่วยเหลือยูเครนมากที่สุดคือสหรัฐฯ ซึ่งตลอดกว่า 1 ปีที่ผ่านมาได้ส่งกระสุนปืนใหญ่มาตรฐานนาโตขนาด 155 มิลลิเมตร ให้ยูเครนไปแล้ว 2 ล้านนัด
โดยความกังวลหลักในขณะนี้คือยูเครนใช้กระสุนปืนใหญ่หมดเร็วกว่าที่ชาติตะวันตกคาดการณ์ และ แม้ว่าทั้งนาโตและสหภาพยุโรป จะใช้หลายวิธีเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ที่รวมถึงการให่เงินอุดหนุนภาคเอกชน แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ในขณะที่นักวิเคราะห์มองว่ารัสเซียทำได้ดีกว่าชาติตะวันตกในด้านการเพิ่มกำลังการผลิตอาวุธ
ความกังวลนี้ยังถูกซ้ำเติมด้วยความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในสหรัฐฯ ที่งบประมาณรายจ่ายชั่วคราว ซึ่งจะใช้ไปจนถึงวันที่ 17 พ.ย.ไม่มีการจัดสรรเงินให้ความช่วยเหลือยูเครน และความเป็นไปได้ที่ อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปีหน้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความช่วยเหลือยูเครนเช่นกัน
นอกจากนี้ ประธานาธิบดี โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนประกาศเมื่อวันเสาร์ (30 ก.ย.) ที่ผ่านมาว่าต้องการยกระดับอุตสาหกรรมอาวุธของยูเครนให้กลายเป็น “ศูนย์กลางทหารขนาดใหญ่” โดยจะจับมือเป็นหุ้นส่วนกับผู้ผลิตอาวุธต่างชาติ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอาวุธสำหรับใช้ทำสงครามต่อต้านรัสเซีย
เซเลนสกี ย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ คือระบบป้องกันภัยทางอากาศและอุปกรณ์เก็บกู้ระเบิด นอกจากนี้ยูเครนยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มการผลิตขีปนาวุธ โดรน และเครื่องกระสุนภายในประเทศด้วย
ค้นบ้านเด็กก่อเหตุยิงกลางพารากอน พบปืนบีบีกัน-กระสุนเพียบ!
ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดอ่อนค่าลงอีก 37.11 จากดอลลาร์แข็ง-ฟันด์โฟลว์ไหลออก คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เว็บบล็อกเผย "LINE" นิยมใช้เพียง 3 ประเทศทั่วโลกเท่านั้น